KARAKURI Kaizen
(อุปกรณ์ลำเลียงสินค้าโดยใช้หลักการไคเซ็น)

กลไกและหลักการใช้งาน Karakuri Kaizen แบบเรียบง่ายที่มีส่วนช่วยในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อลดการสูญเสีย สามารถประหยัดต้นทุนและเวลาที่ไม่จำเป็นได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งถูกออกแบบจากประสบการณ์และไอเดียที่หลากหลาย โดยอาศัยพลังงานและหลักธรรมชาติ เช่น แรงโน้มถ่วง หรือแรงจากการไหล ทำให้เกิดกลไกแบบอัตโนมัติ สำหรับใช้ในการปรับปรุงและสรรค์สร้างชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์ ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด

หลักการไคเซ็น คืออะไร?

หลักการไคเซ็น หรือ Karakuri Kaizen คือ แนวคิดการทำงานแบบญี่ปุ่น โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ที่มีประวัติศาสตร์ค่อนข้างยาวนานกว่า 1,300 ปีแล้ว เป็นที่นิยมมากในสมัยเอโดะ โดยจะเน้นให้คนที่ทำงานจริงสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นหน้างาน เมื่อพบสิ่งที่เป็นปัญหา ก็จะค่อย ๆ พยายามหาแนวทางแก้ไข ปรับปรุงสิ่งที่เป็นอยู่ให้ดียิ่งขึ้น

การพัฒนาทีละเล็กทีละน้อย แต่เน้นความต่อเนื่อง (Continuous Improvement) คือหัวใจสำคัญของ Karakuri Kaizen เพราะจุดประสงค์ของหลักการนี้ คือ การเพิ่มประสิทธิภาพ แก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นจริงหน้างาน ลดความซับซ้อน ปรับปรุงการทำงานให้ง่าย และปลอดภัยมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

Karakuri kaizen - 01
กลไก Karakuri - 02
Karakuri (คาราคุริ) - 03
Karakuri ยกของ - 11
Karakuri conveyor - 04
Karakuri system - 05
หลักการไคเซ็น (Kaizen) - 06
คาราคุริ Level Cart - 07
คาราคุริ Level Cart - 08
กลไก Karakuri - 09
ระบบกลไก Karakuri - 12
Karakuri kaizen system - 13
Karakuri กลไกแบบอัตโนมัติ - 14
Karakuri คือ กลไกอัตโนมัติ - 15
Karakuri kaizen - 01
กลไก Karakuri - 02
Karakuri (คาราคุริ) - 03
Karakuri ยกของ - 11
Karakuri conveyor - 04
Karakuri system - 05
หลักการไคเซ็น (Kaizen) - 06
คาราคุริ Level Cart - 07
คาราคุริ Level Cart - 08
กลไก Karakuri - 09
ระบบกลไก Karakuri - 12
Karakuri kaizen system - 13
Karakuri กลไกแบบอัตโนมัติ - 14
Karakuri คือ กลไกอัตโนมัติ - 15

ขั้นตอนในการปรับปรุงแบบไคเซ็น (Kaizen)

1

ตรวจเช็กพื้นที่หน้างาน

ก่อนจะใช้หลักการ Karakuri Kaizen มาปรับปรุง พัฒนาการผลิต สิ่งที่ต้องทำก็คือการตรวจเช็กพื้นที่หน้างานก่อน เพื่อทำความเข้าใจขั้นตอน วิธีและกระบวนการต่าง ๆ ในการผลิตอย่างครบถ้วน

2

สังเกตปัญหาที่เกิดขึ้น

คอยสังเกตปัญหาหรือสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต แต่ละขั้นตอนต่าง ๆ เป็นอย่างไร มีส่วนไหนที่ซ้ำซ้อน ล่าช้า หรือควรแก้ไข เช่น พนักงานต้องก้ม-เงยเพื่อหยิบชิ้นส่วนในการทำงาน

3

วิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบ

นำข้อสังเกตมาวิเคราะห์ปัญหา และคำนึงถึงผลกระทบที่ตามมาว่ามีผลเสีย หรือส่งผลกระทบต่อการทำงานในระยะยาวอย่างไร เช่น หากพนักงานก้ม-เงยบ่อย ๆ ติดต่อกันนาน ๆ อาจส่งผลต่อสุขภาพ และป่วยในที่สุด

4

ค้นหาวิธีแก้ปัญหาและพัฒนา

เมื่อทราบถึงปัญหา และวิเคราะห์ต่อตามหลักกลไก Karakuri Kaizen จากนั้นก็ดำเนินการค้นหาวิธีการแก้ปัญหา แนวทางที่ดีกว่า เพื่อพัฒนาวิธีการทำงาน ปรับปรุงอุปกรณ์ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระยะยาว

5

ดำเนินการเพื่อปรับปรุงแก้ไข

นำแนวทางการแก้ปัญหาที่ค้นพบหรือคิดค้นขึ้นมาลองดำเนินการตามแผน อาจจะมีการพัฒนา ปรับปรุง หรือใช้อุปกรณ์เพิ่มเติม เปลี่ยนขั้นตอน วิธีการทำงานต่าง ๆ ตามหลักการ Kaizen เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดการสูญเสีย

6

เช็กผลลัพธ์ พัฒนาต่อ

เมื่อลองนำแนวทางการแก้ปัญหามาใช้แล้ว จากนั้นจึงตรวจสอบผลลัพธ์ว่าเป็นไปตามที่คาดหวังไว้หรือไม่ รับฟังความคิดเห็นจากพนักงานที่ทำงานจริง เพื่อพัฒนาเพิ่มเติมให้ดียิ่งขึ้น ก็จะถูกต้องตามหลัก Karakuri Kaizen

วิดีโอสาธิตการทํางานโดยใช้หลักการไคเซ็น (Kaizen)

วิดีโอสาธิตเกี่ยวกับ CREFORM Karakuri collection เป็นหนึ่งตัวอย่างของกลไก Karakuri Kaizen ในการส่งคืนชิ้นงานที่เป็นกล่องเปล่า ด้วยวิธีการใช้เท้าดันบาร์ จากนั้นอุปกรณ์จะช่วยดันกล่องไปถึงยังที่หมาย ด้วยการส่งแบบซิกแซกที่มีระยะทางสั้น ช่วยลดระยะเวลาในการทำงาน

วิดีโอสาธิตเกี่ยวกับ CREFORM Spacesaving Workbench รถเข็นที่มีขนาดเล็กกะทัดรัด เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยกลไก Karakuri kaizen เพราะเครื่องนี้จะช่วยยกสิ่งของ หรืออุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมาก ขึ้น-ลงได้ โดยไม่เปลืองแรง ประหยัดเวลา ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จัดเก็บได้ในพื้นที่จำกัด

อุปกรณ์ลำเลียงสินค้าโดยใช้หลักการไคเซ็น

KARAKURI Shooter

เป็นอุปกรณ์ลำเลียงสำหรับยกของ หรือยกกล่องเปล่าขึ้นสูงระดับ 2 เมตรโดยใช้หลักการไคเซ็น (Kaizen) เข้ามาปรับปรุงและประยุกต์ในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เป็นกลไกที่สามารถนำไปปรับใช้เพื่อหาชิ้นงานในตำแหน่งที่อยู่สูง หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีความสูงต่างกัน

Karakuri Shooter

Release Box by KARAKURI

อุปกรณ์ชิ้นส่วนที่พัฒนาด้วยกลไก Karakuri kaizen อย่าง Release Box จาก CREFORM เป็นชั้นวาง FIFO ที่สามารถวางกล่องชิ้นงาน หรือสินค้าได้ถึง 3 กล่อง เมื่อเริ่มใช้งานและต้องการหยิบวัตถุดิบ กล่องสินค้าที่จัดเก็บไว้ อุปกรณ์นี้ก็จะส่งกล่องที่อยู่ชั้นล่างสุดออกมาให้เราหยิบใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น

Release Box by Karakuri

Level Cart

รถเข็นปรับระดับจาก CREFORM ที่ออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ อีกหนึ่งอุปกรณ์ตามหลักการ Karakuri kaizen ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถหยิบชิ้นงานที่มีขนาดความสูงเท่ากันได้ ทั้งจำนวน 1 กล่องไปจนถึง 3 กล่อง โดยใช้น้ำหนักที่สมดุลสปริง เพื่อให้ระดับบนสุดคงความสูงที่ใกล้เคียงกัน

Level Cart

ประโยชน์ของการใช้กลไก Karakuri Kaizen

1

ประหยัดต้นทุนมากกว่า

  • Karakuri ช่วยประหยัดต้นทุนได้มากกว่า
  • มีราคาถูกกว่าการเลือกใช้ระบบอัตโนมัติ
  • ลดระยะเวลาในการทำงานลง
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้มากกว่า
2

เลือกปรับเปลี่ยนได้ด้วยตนเอง

  • กลไก Karakuri เน้นให้คนทำงานที่หน้างานเป็นผู้สังเกต
  • เลือกปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานที่ซ้ำซ้อน
  • ได้พัฒนา ปรับปรุงในส่วนที่เกิดปัญหาจริง
  • ค่อย ๆ พัฒนาทีละเล็กน้อย แต่เน้นความต่อเนื่อง และได้ผลจริง
3

เลือกปรับปรุงได้ด้วยตนเอง

  • เลือกใช้ Karakuri Kaizen ซ่อมบำรุงได้ด้วยตนเอง
  • ปรับปรุงได้เหมาะสมตามหน้างาน
  • เมื่อพัฒนาแล้วสามารถแก้ปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพได้จริง
4

กระตุ้นให้พัฒนาต่อ

  • Karakuri Kaizen ช่วยผลักดันให้ปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
  • กระตุ้นให้พัฒนาทีละเล็กน้อยอย่างต่อเนื่อง
  • มีแรงจูงใจปรับปรุงส่วนอื่นมากยิ่งขึ้น
  • ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างมั่นคง ยั่งยืน

ทำไมต้องเลือกใช้ Karakuri จาก CREFORM​

1

ทีมงานวิศวกรพร้อมดูแล

  • CREFORM มีทีมวิศวกรเชี่ยวชาญมากประสบการณ์พร้อมดูแล
  • พร้อมให้คำปรึกษา วางแผน และช่วยแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้า
  • อุ่นใจด้วยบริการหลังการขาย
2

เลือกอุปกรณ์ได้หลากหลาย ตอบโจทย์

  • อุปกรณ์ชิ้นส่วนกลไก Karakuri มีให้เลือกหลากหลายแบบ
  • เลือกใช้งานได้เหมาะสมกับงาน ตอบโจทย์
  • ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3

พัฒนาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

  • กลไก Karakuri ช่วยปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
  • พัฒนาต่อยอดทีละเล็กน้อย แต่ยั่งยืนในระยะยาว
  • ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมดีขึ้น
4

มีการติดตามผลลัพธ์

  • ติดตามผลลัพธ์การใช้ Karakuri ในงาน
  • ติดตามประสิทธิภาพ เพื่อปรับปรุงพัฒนา
  • พร้อมเข้าดูแลและให้คำปรึกษาหลังการขาย

คำถามที่พบบ่อย (FAQs)

หลักการไคเซ็น หรือ Karakuri Kaizen คือ แนวคิดการทำงานแบบญี่ปุ่น โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการผลิต เน้นการสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นหน้างาน และหาแนวทางแก้ไขปัญหา ปรับปรุงสิ่งที่เป็นอยู่ให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ลดความสูญเปล่าในงาน เพิ่มประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

แนวคิด Karakuri Kaizen นั้นถือกำเนิดขึ้นมาจากประเทศญี่ปุ่น มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่าพันปี คำว่า Karakuri นั้นสื่อถึงการเคลื่อนที่โดยไม่ใช้ไฟฟ้าหรือลม และหลักการนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงศตวรรษที่ 18-19 เพราะเป็นกลไกที่เน้นเพิ่มประสิทธิภาพ ลดความสูญเปล่าในการทำงาน

แนวคิดไคเซ็น (Kaizen) จะเน้นขจัด 3M ที่เกิดขึ้นในงานผลิต ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องปรับปรุง

  1. Muda ความสูญเปล่า : จากการขนส่ง การรอ การผลิตจำนวนมากเกินไป หรือของเสียไม่ได้มาตรฐาน
  2. Mura ความไม่สม่ำเสมอ : จากปริมาณผลผลิตที่ไม่สม่ำเสมอ หรือวิธีทำงานที่ไม่คงที่ จนชิ้นงานไม่ตรงตามมาตรฐาน
  3. Muri การทำงานเกินกำลัง : จากการทำงานล่วงเวลา จึงเกิดความเครียด ล้า ประสิทธิภาพการทำงานน้อยลงในระยะยาว

ประโยชน์หลักของ Karakuri kaizen คือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในระยะยาวอย่างยั่งยืน แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงหน้างานได้ตอบโจทย์ ช่วยประหยัดต้นทุนทั้งแรงงานและเวลา ลดการสูญเปล่าในสายการผลิต

Karakuri Kaizen นั้น เหมาะสำหรับงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยเฉพาะการรับส่งชิ้นงาน เคลื่อนย้ายวัตถุดิบในกระบวนการผลิต การประกอบสินค้า รวมถึงการลำเลียงสินค้า ทั้งยกของขึ้นที่สูงและแนวราบไปยังจุดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประหยัดทั้งแรง เวลาและพื้นที่จัดเก็บที่อาจมีจำกัด

บริษัท ครีฟอร์ม ยาซากิ ประเทศไทย (Creform yazaki Thailand) ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2006 ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ Yazaki Kako Corporation จากประเทศญี่ปุ่น โดยเริ่มดำเนินธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ปี 1996 จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภท CREFORM และขยายไปสู่ผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ ได้แก่ AGV Poka-Yoke Lamp system เป็นต้น

see our OTHER PRODUCTS

ดาวน์โหลดแคตตาล็อก

โปรดคลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดแคตตาล็อก

Top