รู้จักแนวคิดการทำ Kaizen กลยุทธ์บริหารงานเพิ่มประสิทธิภาพสไตล์ญี่ปุ่น

Key Takeaways:

  • แนวคิดไคเซ็น (Kaizen) เป็นหลักการหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมโรงงานต่างๆ ที่เน้นให้พนักงานทุกคนร่วมกันพัฒนาปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยหัวใจสำคัญก็คือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  • ไคเซ็นถือเป็นแนวคิดที่ช่วยให้งานมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น พัฒนาผลผลิตในขณะที่คงมาตรฐานไว้ ลดการสูญเสีย ประหยัดต้นทุนและเวลา 

ทุกธุรกิจ โดยเฉพาะสายการผลิตย่อมมองหาแนวทางที่ดีที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพราะฉะนั้นวันนี้ Creform ขอพามารู้จักกับแนวคิดการทำไคเซ็น (Kaizen) พร้อมด้วยอุปกรณ์ที่พัฒนาด้วยหลัก Karakuri ที่จะเข้ามาช่วยให้ประหยัดต้นทุนให้ธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมโรงงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

แนวคิดการทำไคเซ็น (Kaizen) คืออะไร ?

แนวคิดการทำไคเซ็น (Kaizen)
ภาพ: แนวคิดการทำไคเซ็น (Kaizen)

หลักการไคเซ็น หรือ Karakuri Kaizen คือ แนวคิดแบบญี่ปุ่น สำหรับภาคอุตสาหกรรมสายการผลิตและโรงงานต่างๆ ที่เน้นให้พนักงานทุกคนร่วมกันพัฒนาปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้านการผลิตมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหน้างานจากการสังเกตของคนที่ทำงานจริง 

หัวใจสำคัญของแนวคิดนี้ก็คือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) โดยมีกลไกการทำงานแบบง่ายๆ ค่อย ๆ พัฒนา ปรับทีละเล็กทีละน้อย แต่เน้นความต่อเนื่องนั่นเอง

Karakuri Kaizen เป็นหลักการที่มีประวัติศาสตร์ที่ค่อนข้างยาวนาน เพราะเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นมาในญี่ปุ่นกว่า 1,300 ปีแล้ว และเป็นที่นิยมอย่างมากในยุคสมัยเอโดะ หรือประมาณ 300 ปีก่อนหน้านี้นั่นเอง

Kaizen ดีอย่างไร? ทำไมควรทำ?

การนำหลักการ Kaizen มาประยุกต์ใช้ในโรงงาน
ภาพ: การนำหลักการ Kaizen มาประยุกต์ใช้ในโรงงาน

หากธุรกิจ หรือโรงงานอุตสาหกรรมนำแนวคิด Kaizen มาประยุกต์ใช้ในงานด้านสายการผลิต นี่ถือเป็นหลักการบริหารงานที่จะช่วยให้

  • ผลผลิตเป็นไปตามมาตรฐานเดิม แต่พัฒนาให้ดีมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง
  • ลดการสูญเสีย หรือเกิดของเสียในงานการผลิต
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น 
  • พัฒนาด้านบุคลากร องค์กร และกระบวนการผลิตที่ดีขึ้น
  • ลดต้นทุนต่าง ๆ ทั้งวัตถุดิบ เวลา แรงงาน ช่วยเพิ่มกำไร

หลักการตามแนวคิดไคเซ็น (Kaizen)

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยหลักไคเซ็น
ภาพ: เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยหลักไคเซ็น

แนวคิดไคเซ็น (Kaizen) เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการกำจัด 3M ที่มักเกิดขึ้นในงานด้านการผลิต

  • Muda ความสูญเปล่า : จากการขนส่ง การรอ การผลิตมากเกินไป หรือเกิดของเสีย
  • Mura ความไม่สม่ำเสมอ : วิธีการทำงานหรือปริมาณผลผลิตที่ไม่สม่ำเสมอ ไม่มีความคงที่
  • Muri การทำงานเกินกำลัง : ประสิทธิภาพการทำงานน้อยลง เกิดความเครียด อาการล้า

โดยแนวทางหลัก ๆ ที่จะสามารถลด 3M เพื่อมุ่งสู่ประสิทธิภาพที่คาดหวังได้ก็คือ

1.ยึดหลักเลิก-ลด-เปลี่ยน

  • เลิก : เลิกหรือตัดขั้นตอนการทำงานเดิมที่ไม่ได้จำเป็น เพื่อประหยัดเวลา และทำงานได้สะดวกขึ้น 
  • ลด : ลดความซ้ำซ้อนหรือความยุ่งยากในการทำงานที่ไม่ทำให้เกิดประโยชน์
  • เปลี่ยน : เปลี่ยนวิธีทำงาน หรือปรับปรุงบางอย่างในงาน ที่น่าจะช่วยให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. เน้นประยุกต์ความคิดสร้างสรรค์

ไคเซ็นเป็นแนวคิดที่เน้นลดความสูญเปล่าที่อาจจะเกิดขึ้นในงาน ด้วยการเปิดโอกาสให้พนักงานเสนอไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อหาแนวทางการทำงานแบบใหม่ ที่ช่วยแก้ไขปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ดีขึ้น

ขั้นตอนการทำไคเซ็น (Kaizen) อย่างเป็นระบบ

ขั้นตอนการทำไคเซ็น (Kaizen)
ภาพ: ขั้นตอนการทำไคเซ็น (Kaizen)

ไคเซ็น ถือเป็นหลักแนวคิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องที่มาจากญี่ปุ่น โดยเน้นการปรับปรุงเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เป็นกระบวนการที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกคนในองค์กรและมุ่งเน้นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการทำงาน โดยขั้นตอนในการทำไคเซ็น มีดังนี้:

  • ระบุปัญหา โดยเริ่มต้นด้วยการระบุปัญหาหรือโอกาสในการปรับปรุง เช่น ใช้การสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล และรับฟังความคิดเห็นจากทีมงาน
  • วิเคราะห์ปัญหา โดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบ การวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
  • วางแผนปรับปรุง/แก้ไข การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการปรับปรุง เพื่อวางแผนการดำเนินการที่จะปรับปรุงและพิจารณาว่าจะใช้เครื่องมือหรือวิธีการใดบ้างในการปรับปรุง
  • ดำเนินการปรับปรุง/แก้ไข โดยนำแผนการปรับปรุงไปปฏิบัติจริง ให้ทีมงานมีส่วนร่วมในการดำเนินการ
  • ตรวจสอบผล ทำการตรวจสอบผลลัพธ์ของการปรับปรุงโดยการวัดและวิเคราะห์ผลการดำเนินการ เปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้เพื่อดูว่าบรรลุผลหรือไม่
  • ปรับปรุงต่อเนื่อง หากการปรับปรุงประสบความสำเร็จ ให้นำไปปฏิบัติเป็นมาตรฐานและนำมาใช้ในกระบวนการทำงาน ติดตามผลอย่างต่อเนื่องและทำการปรับปรุงเพิ่มเติมหากพบปัญหาใหม่ๆ
  • ประเมินผล ว่าสามารถทำให้กระบวนการทำงานดีขึ้นอย่างไร เรียนรู้จากกระบวนการและนำบทเรียนเหล่านั้นมาใช้ในการปรับปรุงครั้งต่อไป

มารู้จัก Karakuri จาก Creform

1.Shooter ที่ใช้หลักแนวคิดไคเซ็น (Kaizen)

Karakuri Shooter
ภาพ: Karakuri Shooter

หลาย ๆ Shooter นั้นก็ใช้แนวคิด Kaizen Karakuri เข้ามาประยุกต์ในการทำงานด้วย เพื่อช่วยทุ่นแรง และส่งสินค้าได้ดี มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อย่าง Shooter แบบแรก สำหรับเวลาส่งลำเลียงสินค้าต่าง ๆ ตามลำดับ วิธีใช้งานก็เพียงแค่

  • เหยียบตรงแท่นด้านล่างเมื่อต้องการนำกล่องที่ 1 ออก
  • กล่องที่ลำเลียงมาเป็นลำดับที่ 2 จะถูกหยุดด้วย Stopper 
  • ถ้าปล่อยเท้าออก กล่องถัดมาก็จะเคลื่อนตัวมาหยุดด้วย Stopper
การขนส่งสินค้าด้วย Karakuri
ภาพ: การขนส่งสินค้าด้วย Karakuri

การขนส่งลำเลียงสินค้าในแบบถัดมา ด้วยกลไก Karakuri Kaizen จาก Creform ช่วยทำให้ Shooter ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น

  • แค่วางสินค้าหรือวัตถุดิบลงบนถาด 
  • ถาดที่มีสิ่งของจะเลื่อนลง
  • เมื่อหยิบสินค้าออก ถาดจะเคลื่อนที่กลับไปตำแหน่งเดิมโดยอัตโนมัติ
ส่งสินค้าโดยใช้ Karakuri Shooter

ภาพ: ส่งสินค้าโดยใช้ Karakuri Shooter

ส่วน Shooter แบบที่ 3 ที่มีการประยุกต์ใช้แนวคิดไคเซ็นเข้ามาช่วยให้ขนส่งลำเลียงสินค้าแต่ละชิ้นดีขึ้น โดยกรณีนี้จะใช้สำหรับ Shooter ที่มีความยาวหรือมุมลาดเอียงจำกัด ใช้งานได้โดย

  • ผู้ใช้เหยียบคันโยกเท้า
  • กล่องสินค้าหรือวัตถุดิบจะค่อย ๆ ขยับทีละน้อย
Minomi Shooter
ภาพ: Minomi Shooter

ส่วน Minomi Shooter ถึงแม้จะไม่ได้ใช้แนวคิด Karakuri แต่ก็มีลักษณะการทำงานคล้าย ๆ กัน ช่วยให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น รวมถึง Creform ยังสามารถผลิต Minomi Shooter ได้หลากหลายรูปแบบตามความต้องการของลูกค้าอีกด้วย

2. Lifter Karakuri : เทคโนโลยี Karakuri Kaizen

อุปกรณ์ Lifter
ภาพ: อุปกรณ์ Lifter

เวลาต้องการยกหรือลำเลียงสินค้าขึ้นไปด้านบน Lifter ที่ประยุกต์ใช้หลักไคเซ็นอาจเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะช่วยให้จัดเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบได้มากขึ้นในพื้นที่ที่จำกัด รวมถึงยังสามารถใช้สำหรับ Shooter ที่มีขนาดค่อนข้างยาวได้

อุปกรณ์ Lifter
ภาพ: อุปกรณ์ Lifter
อุปกรณ์ Lifter
ภาพ: อุปกรณ์ Lifter

Creform ยังสามารถผลิต Level Cart ที่ถูกพัฒนาปรับปรุงจากเทคโนโลยี Kaizen Karakuri โดยจะขึ้นอยู่กับน้ำหนัก ขนาด และโครงสร้างชิ้นส่วนของตัวอุปกรณ์ นอกจากนี้ก็ยังสามารถออกแบบให้ตรงกับความต้องการใช้งานของลูกค้าได้ด้วย

3.รถเข็นประหยัดพื้นที่ด้วยเทคโนโลยี Karakuri Kaizen

รถเข็นพับได้
ภาพ: รถเข็นพับได้
การพับรถเข็นเพื่อประหยัดพื้นที่

ภาพ: การพับรถเข็นเพื่อประหยัดพื้นที่

รถเข็นจาก Creform ที่ประยุกต์ใช้แนวคิดไคเซ็น (Kaizen) ยังสามารถใช้งานได้เหมือนรถเข็นปกติทั่วไป แต่เมื่อใช้เสร็จ หรือไม่ใช้งานแล้วก็สามารถพับเก็บได้ ช่วยประหยัดพื้นที่ได้มากถึง 70% เหมาะกับโรงงานที่มีพื้นที่ใช้สอยจำกัดอย่างยิ่ง

 สรุป

นี่คงพอทำให้รู้จักกับแนวคิดไคเซ็น (Kaizen) ซึ่งเป็นหลักแนวคิดสำคัญที่ถูกนำมาใช้ในองค์กรต่างๆ ทั่วโลก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นในภาคการผลิต การบริการ หรือภาคการบริหารจัดการ โดยมุ่งเน้นที่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและการมีส่วนร่วมของทุกคนในองค์กร พร้อมด้วยอุปกรณ์แบบล้ำ ๆ ที่ผลิตขึ้นด้วยกลไก Karakuri พัฒนาจากไอเดียความคิดสร้างสรรค์และประสบการณ์จาก Creform พร้อมจะเข้าไปช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในงานด้านการผลิตของธุรกิจ

ให้ CREFORM เป็นตัวช่วยในด้านการผลิต ลำเลียง ขนส่งที่มีประสิทธิภาพยิ่งกว่าให้กับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นจาก Karakuri Kaizen รถ AGV หรือระบบเทคโนโลยีล้ำสมัยที่ผ่านการวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมบริการให้คำปรึกษาจากทีมผู้เชี่ยวชาญ และบริการหลังการขายดีเยี่ยม เพื่อระบบที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับธุรกิจ

ข่าวสารแนะนำ

ดาวน์โหลดแคตตาล็อก

โปรดคลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดแคตตาล็อก

Top